เมนู

อรรถกถาอัคคิสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในอัคคิสูตรที่ 3.
บทว่า สติญฺจ ขฺวาหํ ภิกฺขเว สพฺพตฺถิกํ วทามิ ความว่า
เรากล่าวสติแล ว่าเหมือนเกลือสะตุ และเหมือนอำมาตย์ผู้ประกอบการงานทั้ง
ปวงอัน บุคคลพึงปวารถนาในที่ทั้งปวง. เกลือสะตุย่อมอยู่ แม้ในกับข้าวทั้ง
ปวงฉันใด และอำมาตย์ผู้ประกอบการงานทั้งปวง ย่อมทำหน้าที่รบ ทำหน้า
ที่ปรึกษาบ้าง ทำหน้าที่สนับสนุนบ้าง รวมความว่า ย่อมทำกิจทุกอย่างให้
สำเร็จได้ฉันใด การข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน การยกจิตที่หดหู่ก็ฉันนั้น ดังนั้น กิจ
แม้ทั้งหมดจะสำเร็จได้ด้วยสติ เว้นสติเสียหาอาจยังกิจนั้นให้สำเร็จได้ไม่
เพราะฉะนั้น พระองค์จึงตรัสอย่างนี้. ในพระสูตรนี้ พระองค์ ตรัสโพชฌงค์
อันเป็นวิปัสสนาส่วนเบื้องต้นอย่างเดียว.
จบอรรถกถาอัคคิสูตรที่ 3

4. เมตตาสูตร



พรหมวิหาร 4


[573] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาว
โกลิยะ ชื่อ หลิททวสนะ ในโกลิยชนบท ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปด้วยกัน
เวลาเช้านุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสนนิคม ครั้ง
นั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความดำริว่า เวลานี้เราจะเที่ยวไปบิณฑบาตยังหลิททวสน-

นิคมก่อนก็ยังเช้านัก ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์
ปริพาชกเถิด.
[574] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปยังอารามของพวกอัญญเดียรถีย์
ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่านการปราศรัย
พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวกอัญญเดียรถีย์
ปริพาชกได้พูดกะภิกษุเหล่านั้นว่า
[575] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมณโคคมแสดงธรรมแก่สาวก
ทั้งหลายอย่างนั้นว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละนิวรณ์ 5 อันเป็น
อุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไป
ตลอดทิศ 1 อยู่เถิด ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้
ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ เป็น
มหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ใน
ที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.
[576] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ 1 อยู่เถิด ทิศ
ที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยกรุณาอัน ไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณมิ
ได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์
ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.
[577] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ 1 อยู่เถิด ทิศ
ที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยมุทิตาอัน ไพบูลย์เป็นมหรคต หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุก
หมู่เหล่า อยู่เถิด.

[578] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ 1 อยู่เถิด
ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ
มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมี
สัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.
[579] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวกทั้ง
หลายอย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละนิวรณ์ 5 อัน เป็น
อุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอด
ทิศ 1 อยู่เถิด ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน ฯลฯ
[580] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ 1 อยู่เถิด ทิศ
ที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ
มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมี
สัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.
[581] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้
อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน
ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา คือว่า ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรม
เทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระ-
สมณโคดม.
[582] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูดของ
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจว่า
เราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำพูดนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[583] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้น ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในหลิททว
สนนิคม เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
[584] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อเช้านี้
ข้าพระองค์ทั้งหลายนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังหลิททวสน-
นิคม ข้าพระองค์ทั้งหลายได้มีความดำริว่า เวลานี้ เราจะเที่ยวไปบิณฑบาต
ยังหลิททวสนนิคมก่อน ก็ยังเช้าอยู่ ถ้ากระไร เราพึงเข้าไปยังอารามของพวก
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเถิด.
[585] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเข้าไปยังอารามของพวกอัญญ-
เดียรถีย์ปริพาชก ได้ปราศรัยกับอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นผ่าน
การปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พวก
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกได้พูดกะข้าพระองค์ทั้งหลายว่า
[586] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระสมโคดมแสดงธรรมแก่สาวก
ทั้งหลายอย่างนั้นว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละนิวรณ์ 5 อันเป็น
อุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไป
ตลอดทิศ 1 อยู่เถิด ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้ง
เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยเมตตาอัน ไพบูลย์ เป็น
มหรคต หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก
ในที่ทุกสถาน อันมีสัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด
[587] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา...
[588] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา...

[589] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ 1 อยู่เถิด
ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ
มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมี
สัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.
[590] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย แม้พวกเราก็แสดงธรรมแก่สาวก
ทั้งหลาย อย่างนี้ว่า มาเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละนิวรณ์ 5 อัน
เป็นอุปกิเลสของใจ ทอนกำลังปัญญา แล้วจงมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไป
ตลอดทิศ 1 อยู่เถิด ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน ฯลฯ
[591] จงมีใจประกอบด้วยกรุณา. . .
[592] จงมีใจประกอบด้วยมุทิตา. . .
[593] จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ 1 อยู่เถิด
ทิศที่ 2 ทิศที่ 3 ทิศที่ 4 ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง
เบื้องขวาง จงมีใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหรคต หาประมาณ
มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปทั่วโลก ในที่ทุกสถาน อันมี
สัตว์ทุกหมู่เหล่า อยู่เถิด.
[594] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ในการแสดงธรรมของพวกเรานี้
อะไรเป็นความแปลกกัน อะไรเป็นประโยชน์อันยิ่ง อะไรเป็นความต่างกัน
ของพระสมณโคดมหรือของพวกเรา คือว่า ธรรมเทศนาของพวกเรากับธรรม
เทศนาของพระสมณโคดม หรืออนุศาสนีของพวกเรากับอนุศาสนีของพระ-
สมณโคดม.

[595] ครั้งนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านคำพูด
ของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ครั้นแล้วลุกจากอาสนะหลีกไป ด้วยตั้งใจ
ว่าเราทั้งหลายจักทราบเนื้อความแห่งคำพูดนี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

เมตตาเจโตวิมุตติ ฯลฯ มีอะไรเป็นคติ


[596] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกอัญญ
เดียรถีย์ปริพาชกผู้มีวาทะอย่างนี้ ควรเป็นผู้อันเธอทั้งหลายพึงถามอย่างนี้ว่า
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้ว อย่างไร มี
อะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด กรุณา
เจโตวิมุตติ . . . มุทิตาเจโตวิมุตติ . . . อุเบกขาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญแล้ว
อย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไรเป็นที่สุด.
พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกถูกเธอทั้งหลายถามอย่างนั้นแล้ว จักแก้ไม่ได้เลย
และจักถึงความอึดอัดอย่างยิ่ง. ข้อนั้น เพราะเหตุไร. เพราะเป็นปัญหา
ที่ถามในฐานะมิใช่วิสัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่แลเห็นบุคคลในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหาเหล่านี้ เว้นเสียจาก
ตถาคต สาวกของตถาคต หรือผู้ที่ฟังจากตถาคต หรือจากสาวกของตถาคต.
[597] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเจริญ
แล้วอย่างไร มีอะไรเป็นคติ มีอะไรเป็นอย่างยิ่ง มีอะไรเป็นผล มีอะไร
เป็นที่สุด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์
อันสหรคตด้วยเมตตา ฯลฯ ย่อมเจริญอุเบกชาสัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วย
เมตตา อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ. ถ้าเธอ
หวังอยู่ว่า เราพึงมีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ เธอก็ย่อมมีความ